เลือกกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนดีมั้ย ?
21 มีนาคม 2567 · อ่าน 1 นาที
ทุกวันนี้นักลงทุนไทยอย่างเรา ๆ มีทางให้เลือกไปลงทุนต่างประเทศได้ง่ายหลายช่องทาง
หนึ่งในช่องทางที่ได้รับความนิยม คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF) ซึ่งความพิเศษของการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบกับผลตอบแทนที่นักลงทุนอย่างเราจะได้ด้วย
เคยสังเกตมั้ยครับว่าในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ จะมีความเสี่ยงที่เรียกว่า “ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk)” เขียนกำกับอยู่เสมอ
🌏 แล้วอัตราแลกเปลี่ยนกระทบกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศยังไง ?
ทบทวนพื้นฐานเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนกันสักหน่อย สมมุติเรามีเงินอยู่ 5 ดอลลาร์แล้วอยากแลกกลับเป็นเงินบาท และอัตราแลกเปลี่ยนวันนี้อยู่ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทที่ได้จะเท่ากับ 150 บาท
และสมมุติว่าวันต่อมาเงินบาทอ่อนค่า ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนขยับเป็น 35 บาท/ดอลลาร์ ถ้าเอาเงิน 5 ดอลลาร์เท่าเดิมมาแลกเป็นเงินบาท เงินบาทที่ได้จะเพิ่มเป็น 175 บาท
กลับกันถ้าวันต่อมาเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 25 บาท/ดอลลาร์ เอาเงิน 5 ดอลลาร์เท่าเดิมมาแลกเป็นเงินบาท เงินบาทที่ได้จะลดลงเหลือเพียง 125 บาทเท่านั้น
พอนึกออกมั้ยว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีผลขนาดไหน ทีนี้การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศก็เหมือนกัน บริษัทจัดการกองทุนได้เงินจากเราเป็นเงินบาท แต่พอจะไปลงทุนต่างประเทศ เค้าจะต้องเอาเงินบาทนี้ไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศก่อน จากนั้นขากลับพอจะเอาเงินมาคืนเรา ก็ค่อยแลกเงินกลับมาเป็นเงินบาทอีกที
ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนตอนแลกเงินจะกระทบได้ 2 แบบ
1. ถ้าเงินบาทอ่อนค่าลง
เงินต้นและผลตอบแทนที่อยู่ในรูปเงินสกุลต่างประเทศ จะแลกกลับมาเป็นเงินบาทได้เพิ่มขึ้น
2. ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
เงินต้นและผลตอบแทนในรูปเงินสกุลต่างประเทศ จะแลกกลับมาเป็นเงินบาทได้ลดลง
ดังนั้น นอกจากผลตอบแทนของกองทุนรวมจะขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ต่างประเทศแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย.
🌏 ถ้าไม่อยากเจอความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต้องทำยังไง ?
เพราะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจทำให้เราขาดทุน จนไปกินส่วนที่เป็นเงินต้นหรือผลตอบแทนได้ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศบางกอง เลยมีขายทั้งแบบที่ป้องกันและไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อน ๆ สามารถอ่านรายละเอียดนโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ในหนังสือชี้ชวนได้เลยครับ หรือบางกองทุนเราจะเห็นกองทุนที่มีชื่อเดียวกัน แต่อันนึงมีตัว H อีกอันไม่มี ซึ่งกองทุนที่มีตัว H (Hedged) ก็คือกองที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง
โดยกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงผู้จัดการกองทุนจะไปทำ Hedging เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งก็จะมีทั้งแบบป้องกันความเสี่ยงไว้บางส่วนหรือป้องกันไว้ทั้งหมด
แต่ก็ต้องรู้ไว้ด้วยว่าการทำ Hedging ทำให้กองทุนรวมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะมากระทบกับผลตอบแทนที่ได้อีกที
🌏 สรุป
จากทั้งหมดจะเห็นว่า ผลกระทบจากความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแค่ข้อเสีย คนที่ลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ยังมีโอกาสได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท
แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวัง หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็จะกระทบในด้านลบได้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นถ้าไม่อยากรับความผันผวนก็ต้องเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงนี้อยู่่
และถ้าถามว่าควรเลือกกองทุนแบบป้องกัน หรือไม่ป้องกันความเสี่ยงนี้ ? คำตอบก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคนแล้วว่า ตัวคุณเองรับความเสี่ยงได้แค่ไหนครับ
******
ใครที่อยากซื้อกองทุนรวม แต่ยังไม่รู้จะเลือกอะไรดี วันนี้แอป Dime! มีกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศทั่วโลกมาให้ศึกษาทำความรู้จักกันครับ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในดัชนี S&P500 หุ้นยุโรป หุ้นญี่ปุ่น หุ้นอินเดีย และอีกมากมาย โดยทั้ง 7 กองทุนนี้ฟรีค่าธรรมเนียมซื้อด้วยนะ เฉพาะ เดือน มี.ค. 67 นี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยที่นี่ครับ https://dime.co.th/th/articles/fund-zero-front-end-fee-mar-2024
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัท
Dime! ครบเครื่องเรื่องการเงิน แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างเท่าเทียม
เรารอฟังคำแนะนำจากทุกคนอยู่ ติดต่อเราได้เลยทางแอป Dime! หรือช่องทางโซเชียล Facebook และ LINE
[รู้จักเรา]
Dime! (ไดม์!) แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเงิน 1 ไดม