KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Share modal

ทำความรู้จักประเภทกองทุนรวม เหมือนแค่มองตาก็รู้ใจ

18 ธันวาคม 2564 · อ่าน 2 นาที

กองทุนรวม
copy link

ช่วงนี้ หลายต่อหลายคนกำลังให้ความสนใจ เรื่องการลงทุนในกองทุนรวมค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะว่าเรากำลังอยู่ในเทศกาลลดหย่อนภาษีปลายปี จึงกำลังมองหากองทุนรวม SSF หรือ RMF ที่น่าสนใจกันอยู่  

หรืออาจเป็นเพราะผลตอบแทนจากเงินฝากไม่เพียงพอ จนทำให้เราต้องมองหาช่องทางใหม่เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ทำให้เราพึงพอใจ 

แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็ตาม คำถามแรกที่มักจะโผล่ขึ้นมาในหัวทุกคนก็คือ เราจะลงทุนในกองทุนรวมไหนดีล่ะ ?” 💬 

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราควรทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ประเภทของกองทุนรวม ซะก่อน 

เพราะหากเราเข้าใจกองทุนรวมแต่ละประเภทแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้เราตัดกองทุนรวมที่ไม่เหมาะสมกับเราออกไปได้มาก หลังจากนั้นจึงค่อยมาเลือกหากองทุนรวมที่ตรงกับความต้องการของเราอีกทีหนึ่ง 

ทุกคนน่าจะเคยเห็น ครึ่งวงกลมที่บอกระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม ผ่านตากันมาบ้างในหนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet) ซึ่งจริง ๆ ในนั้นก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมอีกหลายอย่าง ทั้งนโยบายการลงทุน ผลการดำเนินงาน และค่าธรรมเนียม แต่เดี๋ยวไว้เราค่อยมาคุยกันทีหลังนะ 

🤔 แล้ว เจ้าครึ่งวงกลมอันนี้ มันคืออะไร ? 

ใช่วงจรสี ที่เราเคยเรียนในวิชาศิลปะรึเปล่า ? 

หรือ มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ เทศกาลไพรด์ (Pride Month) ในช่วงเดือน มิ.. ? 

คำตอบ คือ ครึ่งวงกลม มีหน้าที่แบ่งประเภทของกองทุนรวมตามระดับความเสี่ยง ซึ่งมักจะแบ่งเป็น 8 ระดับ เรียงจากความเสี่ยงต่ำ (สีเขียว) ไปหาความเสี่ยงสูง (สีแดง) และผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังก็มักจะสูงตามระดับความเสี่ยง (เน้น !! คำว่า คาดหวัง เพราะสิ่งที่เราคาดหวังก็อาจไม่ได้เป็นไปตามที่เราหวังเสมอไป ความรักก็เช่นกัน 🥺) 

ความเสี่ยงระดับที่ 1 : กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ 

เน้นลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงต่ำที่สุด เพราะผู้กู้ก็คือรัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ถือว่ามีความมั่นคงสูง 

ความเสี่ยงระดับที่ 2 : กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ 

สิ่งที่ลงทุนจะเหมือนกับกองทุนรวมประเภทแรก แตกต่างกันที่มีการกระจายไปลงทุนในต่างประเทศ จึงทำให้มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามา 

ความเสี่ยงระดับที่ 3 : กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล 

ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเป็นหลัก แต่ตราสารหนี้จะมีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป จึงมีความผันผวนด้านราคามากกว่ากองทุนรวมทั้งสองประเภทก่อนหน้า 

ความเสี่ยงระดับที่ 4 : กองทุนรวมตราสารหนี้ 

กองทุนประเภทนี้จะลงทุนได้ทั้ง ตราสารหนี้ภาครัฐ (มีอีกชื่อคือพันธบัตรรัฐบาล”) และตราสารหนี้เอกชน (หรือ หุ้นกู้) โดยลงทุนได้ทั้งในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 1 ปี) และระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 

ความเสี่ยงระดับที่ 5 : กองทุนรวมผสม 

เป็นกองทุนรวมที่มีส่วนผสมระหว่างตราสารหนี้ (พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้) และตราสารทุน (หุ้น) โดยเราจะรู้ได้ว่ากองทุนมีสัดส่วนเน้นหนักในอะไรบ้าง ต้องไปดูจากนโยบายการลงทุนในหนังสือชี้ชวน เหมาะกับผู้รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางถึงสูง 

ความเสี่ยงระดับที่ 6 : กองทุนรวมตราสารทุน 

สามารถลงทุนได้ทั้งหุ้นไทยและต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน ซึ่งกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี (ที่ชาวเราทั้งหลายชื่นชอบกัน) ทั้ง SSF และ RMF ก็ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ 

ความเสี่ยงระดับที่ 7 : กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม 

เป็นกองทุนรวมที่มีความเข้มข้นสูง เน้นเลือกลงทุนเป็นรายอุตสาหกรรม จึงมีความเจาะจงและความเสี่ยงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในเทรนด์รักสุขภาพ หรือหุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น กองทุนประเภทนี้ต้องอาศัยความเข้าใจค่อนข้างมาก จึงเหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง 

ความเสี่ยงระดับที่ 8 : กองทุนรวมทางเลือก 

เน้นลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะมีความแตกต่างจากกองทุนรวมตราสารหนี้หรือหุ้นอยู่มาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่เราเองก็ต้องมีความเข้าใจค่อนข้างมากเช่นกัน 

สุดท้ายนี้ เราคงต้องถามตัวเองก่อน (ก่อนที่จะถามคนอื่นนะ) ว่าเรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราจะลงทุนมากน้อยแค่ไหน ? รับความเสี่ยงได้มากหรือน้อย ? มีระยะเวลาในการลงทุนยาวหรือสั้น ? อยากได้เงินปันผลรึเปล่า 

เพราะการลงทุนแม้ดูเผิน ๆ อาจเหมือนจะใช้โชคชะตาเป็นหลัก 🎲 (เหมือนการเปิดกล่องสุ่มพิมรี่พาย📦) แต่ในระยะยาวแล้ว การใช้เหตุผลในการลงทุนจะมีน้ำหนักต่อผลตอบแทนของเราค่อนข้างมากเลยล่ะ  

ส่วนที่พูดมานี้ ก็ไม่ได้จะห้ามถามคนอื่นนะ แต่เราเองก็ควรจะมีความรู้ความเข้าใจ ไม่งั้นหากฟังแต่ความคิดเห็นของคนอื่นอย่างเดียว อาจทำให้เราเข้าใจผิด เสียโอกาสในการลงทุน หรือเราอาจจะขาดทุนเพราะความไม่เข้าใจของเราเองก็ได้ 

หวังดีนะเนี่ย ถึงพูดแบบนี้ 😊 

 


Dime! แอปที่จะเปลี่ยนให้การเงินเป็นเรื่องของทุกคน และเราก็อยากให้ทุกคนมาร่วมพัฒนาแอปนี้ไปด้วยกัน

เรารอฟังคำแนะนำจากทุกคนอยู่
ติดต่อเราได้เลยทาง Facebook หรือ LINE

[รู้จักเรา]
Dime! (ไดม์!) แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเงิน 1 ไดม์

KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร

KKP Dime
เป็นบริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร

img-qr-code
img-qr-ring
สแกนเพื่อ
ดาวน์โหลด
แอป Dime!
ผลิตภัณฑ์
ออมเงินลงทุนจัดการ
กฎหมายและข้อบังคับ
ประกาศนโยบายการใช้คุกกี้ประกาศความเป็นส่วนตัวใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ
facebookinstagramtwittertiktoklineblockdit
© สงวนลิขสิทธิ์ บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด