KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Share modal

ดูดอกเบี้ยสะสมแบบเรียลไทม์

8 กันยายน 2566 · อ่าน 1 นาที

การเงิน
copy link

เพื่อน ๆ สามารถกดดูดอกเบี้ยเงินฝากของตัวเองได้ทุกเมื่อ เห็นตัวเลขดอกเบี้ยรับแบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชัน Dime! โดยเข้าไปที่เมนู “เงินสด” จะปรากฎแถบรายการ “ดอกเบี้ยสะสม” ซึ่งจะแสดงข้อมูลจำนวนดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ยครั้งล่าสุดถึง ณ ปัจจุบัน 

 

ต้องฝากเท่าไรถึงจะได้ดอกเบี้ย 3% และจะได้รับดอกเบี้ยทุกกี่วัน  

- หากฝากไม่เกิน 10,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี  

- ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี  

- ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 0.50% ต่อปี  

💵 ซึ่งธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี คือวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม  

   

สูตรคือ ดอกเบี้ย = จำนวนเงินฝาก x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันที่ฝาก / 365  

  

ดังนั้น หากรวมทั้งเงินฝากและดอกเบี้ย = จำนวนเงินฝาก + [จำนวนเงินฝาก x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันที่ฝาก / 365]  

 

มาเริ่มที่ตัวอย่างกันเลย  

  

🚩 กรณีที่ 1 เริ่มต้นฝากเงิน 9,000 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2566  

ในวันที่ 30 มิถุนายน จากเงิน 9,000 บาท จะกลายเป็น 9,000 + [(9,000 x 3% x 181) / 365] = 9,133.9 บาท  

ภายในสิ้นปี เราจะมีเงินทั้งหมด = 9,133.9 + [(9,133.9 x 3% x 184) / 365] = 9,272.0 บาท  

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยที่ได้รับจาก Dime! Save ไม่ใช่เท่ากับ 9,000 x 3% = 270 บาท เพราะการคิดแบบนั้น เป็นการคิดแบบได้ดอกเบี้ยครั้งเดียวต่อปี ซึ่งไม่ใช่ดอกเบี้ยของ Dime! Save ที่ให้ 2 ครั้งต่อปี  

  

🚩 กรณีที่ 2 เริ่มต้นฝากเงิน 10,000 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2566  

ในวันที่ 30 มิถุนายน จากเงิน 10,000 บาท จะกลายเป็น 10,000 + [(10,000 x 3% x 181) / 365] = 10,148.8 บาท  

ต่อมาเราจะแบ่งคิดดอกเบี้ยเป็น 2 ส่วน เพราะสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เงินนั้นเกินกว่า 10,000 บาทแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ได้นั้นจะต่างกัน เราเลยแบ่งเงินเป็น 10,000 บาท กับ 148.8 บาท  

โดยภายในสิ้นปีจากเงิน 10,000 บาท จะกลายเป็น 10,000 + [(10,000 x 3% x 184) / 365] = 10,151.2 บาท ขณะที่ 148.8 จะกลายเป็น 148.8 + [(148.8 x 1.5% x 184) / 365] = 149.9 บาท  

เมื่อรวมกันแล้ว เราจะมีเงินทั้งหมด = 10,151.2 + 149.9 = 10,301.1 บาท  

  

🚩 กรณีที่ 3 เริ่มต้นฝากเงิน 10,000 บาท ในวันที่ 1 เมษายน 2566  

ในวันที่ 30 มิถุนายน จากเงิน 10,000 บาท จะกลายเป็น 10,000 + [(10,000 x 3% x 91) / 365] = 10,074.8 บาท  

ต่อมาเราจะแบ่งคิดดอกเบี้ยเป็น 2 ส่วนเช่นเดิม ไม่ต่างจากกรณีที่ 2 เลย เพราะสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เงินนั้นเกินกว่า 10,000 บาทแล้ว โดยเราจะแบ่งเงินเป็น 10,000 บาท กับ 74.8 บาท  

ภายในสิ้นปี จากเงิน 10,000 บาท จะกลายเป็น 10,000 + [(10,000 x 3% x 184) / 365] = 10,151.2 บาท ขณะที่ 74.8 จะกลายเป็น 74.8 + [(74.8 x 1.5% x 184) / 365] = 75.4 บาท  

เมื่อรวมกันแล้ว เราจะมีเงินทั้งหมด = 10,151.2 + 75.4 = 10,226.6 บาท  

  

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น แต่ก็น่าจะพอช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจหลักการคิดดอกเบี้ยของ Dime! Save ได้ดีขึ้นนะครับ  

โดยการเสียภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อเราได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีออมทรัพย์รวมทุกบัญชีจากธนาคารแห่งเดียวกัน และ/หรือธนาคารพาณิชย์อื่นรวมกันเกิน 20,000 บาทในปีภาษีนั้น และจะต้องแจ้งให้ธนาคารทราบ เพื่อธนาคารจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% และนำส่งกรมสรรพากรต่อไป  

แต่ถ้าหากเราได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 บาท ธนาคารจะไม่มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย  


Dime! ครบเครื่องเรื่องการเงิน แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างเท่าเทียม

เรารอฟังคำแนะนำจากทุกคนอยู่ ติดต่อเราได้เลยทางแอป Dime! หรือช่องทางโซเชียล Facebook และ LINE

[รู้จักเรา]
Dime! (ไดม์!) แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเงิน 1 ไดม์

KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร

KKP Dime
เป็นบริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร

img-qr-code
img-qr-ring
สแกนเพื่อ
ดาวน์โหลด
แอป Dime!
ผลิตภัณฑ์
ออมเงินลงทุนจัดการ
กฎหมายและข้อบังคับ
ประกาศนโยบายการใช้คุกกี้ประกาศความเป็นส่วนตัวใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ
facebookinstagramtwittertiktoklineblockdit
© สงวนลิขสิทธิ์ บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด