ลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ยื่นภาษียังไง ? Dime! มีตัวช่วย ! กับบริการสรุปกระแสเงินสดและเงินปันผลจากต่างประเทศ
7 พฤศจิกายน 2567 · อ่าน 2 นาที
ใคร ๆ ก็อยากลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา (หุ้นสหรัฐฯ) แต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจคือเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้อง และ Dime! ได้สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ พร้อมวิธีจัดการให้แล้ว ไปดูกันเลย
- เงินปันผล (Dividends)
โดยทั่วไปนักลงทุนไทยที่ถือหุ้นสหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีเงินปันผลที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 30% สำหรับนักลงทุนต่างชาติ แต่หากต้องการลดอัตราภาษีลงเหลือ 15% นักลงทุนจำเป็นต้องกรอกเอกสารภาษี W-8BEN ซึ่ง Dime! อำนวยความสะดวกในการดำเนินการดังกล่าวให้แล้ว
- กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains)
นักลงทุนต่างชาติที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ จะไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการขายหุ้น ซึ่งหมายความว่าหากนักลงทุนขายหุ้นและไม่ได้นำเงินกลับเข้ามาในประเทศไทย ก็จะไม่ต้องเสียภาษีในสหรัฐฯ แต่หากนำเงินลงทุนดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทยก็ต้องนำมายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้าสูงสุดไม่เกิน 35%
รู้หรือไม่ ! การนำเงินลงทุนกลับเข้าประเทศไทยในปี 2567 แตกต่างจากในอดีต
เดิมทีการนำเงินลงทุนกลับเข้าประเทศไทย สำหรับเงินลงทุนที่นำออกไปลงทุนก่อนปี 2567 และนำกลับเข้ามา “คนละปี” กัน เช่น นำเงินออกไปปี 2565 และนำกลับมาปี 2566 จะไม่ต้องเสียภาษีย้อนหลังทุกกรณี รวมถึงส่วนของกำไรจากการขายหุ้นก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วย
ขณะที่ปัจจุบัน เงินลงทุนที่นำออกไปลงทุนต่างประเทศตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ไม่ว่าจะนำกลับเข้ามาประเทศไทย ในปีใดก็ตาม จะต้องนำมายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
อ่านที่มาที่ไปของภาษีดังกล่าวได้ที่นี่ https://dime.co.th/th/articles/foreign-investment-tax%3C/span%3E
แล้วเราจะจัดการภาษีหุ้นต่างประเทศอย่างไรดี ?
มีหลากหลายวิธีและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลในการจัดการภาษีที่เกิดจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ โดย Dime! ขอยกตัวอย่างการจัดการภาษีซึ่งประกอบไปด้วย 2 วิธีเบื้องต้น ดังนี้
1. คำนวณง่ายสุด คือ ไม่ต้องนำเงินกลับไทย
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่นำเงินออกไปลงทุน และไม่ต้องการนำเงินกลับเข้าประเทศไทย จะไม่ต้องยื่นคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่มีภาระทางภาษีในปี 2567
2. อยากนำเงินกลับไทย แต่ก็อยากประหยัดภาษี ให้นำเงินกลับเฉพาะส่วนของทุน
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการนำเงินลงทุนกลับมาหมุนเวียนใช้จ่ายในประเทศไทย และต้องการสะสมกำไรจากการลงทุนไว้ในพอร์ตลงทุนต่อไป หลักการของกรณีดังกล่าวคือ การนำเงินลงทุนกลับเข้าประเทศไทยให้น้อยกว่า หรือเท่ากับเงินลงทุนที่นำออกไปในปีนั้น ๆ โดยแบ่งเงินที่นำกลับเข้ามาได้เป็น
- เงินนำกลับ ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับเงินที่นำออกไป ส่วนนี้จะสามารถแจ้งที่มาของรายได้ให้กรมสรรพากรทราบ (Declare) ว่าเป็นส่วนของทุนได้ ซึ่งจะไม่ต้องเสียภาษีหุ้นต่างประเทศ
- เงินปันผล โดยเงินปันผลที่นำกลับมาประเทศไทย สามารถใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นเครดิตภาษีได้ หรืออธิบายให้เห็นภาพคือ ภาษีเงินปันผลที่เสียในประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้ว สามารถนำมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทยในปีภาษีนั้น ๆ ได้
ซึ่งเคล็ดลับที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ คำนวณเงินลงทุนที่จะนำมายื่นภาษีได้ง่ายขึ้น คือ การนำเงินลงทุนและเงินปันผลกลับเข้ามาในประเทศไทย “พร้อมกันครั้งเดียวในรอบปี” เพราะการนำเงินกลับเข้ามาจะมีเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อตัวเลขสุทธิของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย ดังนั้น อาจจะคำนวณง่ายกว่าถ้านำเงินกลับเข้ามาพร้อมกันในครั้งเดียวเลย
สำหรับนักลงทุนที่มีวัตถุประสงค์นอกเหนือจาก 2 วิธีข้างต้นก็สามารถนำเงินลงทุนกลับมาประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน เช่น การนำเงินกลับมามากกว่าที่นำออกไป โดยเงินดังกล่าวก็ต้องนำมายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป
ทั้งนี้ วิธีการจัดการภาษีข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามคำสั่งของกรมสรรพากร 161/2566 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โดยหากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น Dime! จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
เข้าใจวิธีคิด และการจัดการภาษีแล้ว กดดูสรุปข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศประจำปีของตัวเองได้ในแอป Dime! เลย
เพราะ Dime! เข้าใจความกังวลของผู้ลงทุนทุกคน เราจึงได้สรุปข้อมูลการนำเงินลงทุนเข้าออกประเทศไทยและเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ให้เพื่อน ๆ ตรวจสอบได้อย่างสะดวกสบาย ในฟีเจอร์ใหม่ “สรุปข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศประจำปี” โดยสามารถกดเข้าดูข้อมูลดังกล่าวได้ ดังนี้
1. เปิดแอป Dime! ไปที่เมนูสินทรัพย์ หุ้นสหรัฐฯ และกดที่แถบ “ดู Dime! Analytics ของคุณได้เลยที่นี่”
2. ในหน้า Dime! Analytics จะพบแถบ “สรุปกระแสเงินสดและเงินปันผลจากต่างประเทศ” กดดูได้เลย
วิธีใช้งาน
ฟีเจอร์ดังกล่าวจะสรุปข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศ แยกดูได้เป็นรายปี โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ
- หมวดกระแสเงินสด เป็นการสรุปตัวเลขกระแสเงินสดที่เข้าและออกประเทศไทย ดูได้ทั้งสกุลบาท และดอลลาร์
- หมวดเงินปันผล เป็นการสรุปเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ พร้อมแสดงจำนวนเงินภาษี ณ ที่จ่าย
ใครที่เข้าใจเรื่องภาษีและเลือกวิธีจัดการภาษีของตัวเองได้แล้ว ก็ไปวางแผนภาษีปีนี้กันเถอะ
ที่มา:
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.161/2566 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dn161A.pdf
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.162/2566 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตร 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dn162A.pdf
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Dime! ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำหรือที่ปรึกษาด้านภาษี เพียงแต่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศเท่านั้น
═══════════════════
#เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน
═══════════════════
Dime! เปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องสนุก เพื่อความสุขอย่างเท่าเทียมของทุกคน
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Dime! ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตเลขที่ ลก-0007-02