P/E คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนนิยมใช้กัน
17 January 2023 · 2 min read
P/E มาจากคำว่า Price to Earning ซึ่งเป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้น เทียบกับกำไรสุทธิต่อหุ้น หรือถ้าพูดอีกความหมายหนึ่งคือ หากเราซื้อหุ้นราคาเท่านี้ จะได้เงินทุนกลับคืนมาภายในกี่ปี ภายใต้สมมติฐานว่า กำไรเท่ากันทุกปี
ตัวเลขนี้จึงถูกใช้เพื่อหาว่าหุ้นตัวนั้น ๆ “ถูก” หรือ “แพง” โดยดูตัวเลขของหุ้นที่เราหมายตา เทียบกับบริษัทอื่น ๆ หรือเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรม
📌 สูตรคำนวณคือ P/E = ราคาหุ้น / กำไรต่อหุ้น หรือ มูลค่าบริษัท / กำไรสุทธิ
เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ดังนั้น P/E เท่ากับ 10/1 = 10 เท่า
แสดงว่า เราจะได้ทุนคืนครบ เมื่อถือหุ้นเป็นระยะเวลา 10 ปี
สมมติต่อว่า มีหุ้น B ที่ทำธุรกิจไม่ต่างจากหุ้น A เลย
แต่ราคาหุ้น B คือ 20 บาท และมีกำไรต่อหุ้น 2.5 บาท P/E ของ B จะเท่ากับ 20/2.5 = 8 เท่า
หากถามว่า ราคาหุ้น A หรือ ราคาหุ้น B น่าสนใจมากกว่ากัน
คำตอบจึงกลายเป็น หุ้น B เพราะมี P/E ที่ต่ำกว่านั่นเอง
อย่างไรก็ดี P/E ยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
1. Trailing P/E หรือ P/E ย้อนหลัง
คำนวณจาก ราคาหารด้วยกำไร 4 ไตรมาสล่าสุด
P/E ประเภทนี้จะคำนวณง่าย เพราะเรามีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ Trailing P/E เป็นการมองกระจกหลังว่า ที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรเป็นอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงอนาคตของบริษัท นั่นทำให้เกิด P/E ประเภทถัดมา
2. Forward P/E หรือ P/E ล่วงหน้า
คำนวณจาก ราคาหารด้วยกำไร 4 ไตรมาสในอนาคต
ซึ่งการใช้กำไรแบบนี้ถือเป็นการมองอนาคตแล้ว จึงตัดปัญหาเดิมของ Trailing P/E ไปได้ แต่ว่าตัวเลขที่ได้มานั้นมาจากมุมมองของตัวเอง ก่อให้เกิดอคติได้เช่นกัน เลยอาจทำให้ตัวเลขผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
ดังนั้นการเลือกจะใช้ P/E ประเภทไหน ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละคน
เพื่อหาว่าหุ้นที่เราเลือกนั้นถูก หรือแพง P/E ที่ได้มาจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับ P/E 2 สิ่ง
คือ P/E ของบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และ P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรม
นอกจากใช้ P/E โดยตรงแล้ว รู้หรือไม่ว่าเราสามารถประยุกต์ใช้ในอีกรูปแบบได้ด้วย คือกลับค่า P/E หรือก็คือนำกำไรมาตั้ง แล้วหารด้วยราคา ซึ่งจะกลายเป็น Earnings Yield หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้น ใช้เทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร
อย่างไรก็ตาม จากทั้งหมดดูเหมือนว่า P/E เป็นตัวเลขที่นำมาใช้ได้ง่าย และใคร ๆ ก็ใช้กัน แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน เช่น
🔴 P/E ไม่สามารถนำไปใช้กับบริษัทที่ยังคงขาดทุนอยู่ เช่น กลุ่มหุ้นเทคโนโลยี หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Sea เจ้าของแพลตฟอร์ม Shopee และ Garena หรือ Grab แพลตฟอร์มเดลิเวอรีเองก็ตาม
🔴 P/E ที่ต่ำ ใช่ว่าจะดีเสมอไป ขณะเดียวกัน P/E ที่สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแย่เสมอไปด้วยเช่นกัน เพราะหุ้นที่มี P/E สูง อาจแสดงว่าหุ้นมีความแข็งแกร่งด้านธุรกิจ หรือมีการเติบโตที่น่าสนใจ จนนักลงทุนให้ราคาที่แพงก็ได้
สรุปแล้ว การใช้ P/E อย่างเดียว สำหรับตัดสินใจว่า หุ้นไหนน่าสนใจคงไม่เพียงพอ เราต้องดูอีกหลากหลายปัจจัย เช่น ความสามารถในการแข่งขัน, อัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ช่วยในการวิเคราะห์ธุรกิจ ประกอบอีกด้วย เพื่อที่ว่า เราจะได้หุ้นที่ราคาดี และมีคุณภาพนั่นเอง
หากเพื่อน ๆ ชอบวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงิน และอยากเริ่มลงทุนแล้ว สามารถเข้ามาซื้อหุ้นผ่านแอป Dime! ได้เลย เพียง 50 บาท ก็เป็นเจ้าของหุ้นสหรัฐฯ ได้แล้ว และ Dime! ยังมอบรางวัล Dime! Lucky สูงสุดอีก 1,000 บาท* เพียงชวนเพื่อนเปิดบัญชีกับ Dime! ยิ่งชวนมาก ยิ่งได้มากครับ
อ่านกติกาเพิ่มเติม คลิก
โหลดแอปได้เลยที่ https://dimekkp.onelink.me/sq7H/pya1dxrd
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
-----
อ้างอิง
setinvestnow.com
Dime! ครบเครื่องเรื่องการเงิน แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้อย่างเท่าเทียม
เรารอฟังคำแนะนำจากทุกคนอยู่ ติดต่อเราได้เลยทางแอป Dime! หรือช่องทางโซเชียล Facebook และ LINE
[รู้จักเรา]
Dime! (ไดม์!) แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเงิน 1 ไดม์